บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

“ไอน์สไตน์” การย่นระยะทาง[03]


การย่นระยะทางทำกันอย่างไร

เท่าที่ศึกษามา กลุ่มบุคคลที่เห็นการย่นระยะทางของเกจิอาจารย์ต่างๆ ต่างก็บอกว่า เกจิอาจารย์เหล่านั้นก็เดินด้วยความเร็วปกติของท่าน  แต่คนอื่นๆ ตามท่านไม่ทันเอง

ก็น่าจะเป็นกรณีที่คล้ายกับตอนที่องคุลีมาลย์ไล่ตามพระพุทธเจ้าเพื่อจะตัด เอานิ้วมาร้อยมาลัยคล้องคอ พระพุทธเจ้าก็ทรงเดินธรรมดา แต่องคุลีมาลย์ก็ตามไม่ทัน

ที่ทำได้เช่นนั้น เพราะ พระภิกษุเหล่านั้น ซึ่งรวมถึงพระพุทธเจ้าด้วยมีฤทธิ์ ซึ่งหนังสือทิพยอำนาจ ของอดีตพระอริยคุณาธาร (เส็งปุสโส) อธิบายว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงฤทธิ์ว่ามี 10 ฤทธิ์ด้วยกัน คือ
พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) 

1) อธิษฐานฤทธิ์ ฤทธิ์ที่ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน
2) วิกุพพนาฤทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่แสดงอย่างโลดโผนผาดแผลง
3) มโนมัยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วย
4) ญานวิปผาราฤทธิ์ ฤทธิ์ที่แสดงด้วยติลังญาณ หรือวิปัสสนาญาณ
5) สมาธิผาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอำนาจสมาธิ
6) อริยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยอริยธรรม
7) กัมมวิปากชาฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม
8) ปุญญฤทธิ์ ฤทธิ์ของผู้มีบุญ
9) วิชชามัยฤทธิ์ สำเร็จด้วยวิทยา
10) สัมปโยคปัจจัยยิชฌนฤทธิ์ หมายถึงการรวบรวมกำลังใจเอาความดีชนะความชั่วได้

การย่นระยะทางเรียกว่า สันติเดภาพฤทธิ์ซึ่งอยู่ในข้อที่ 1 อธิษฐานฤทธิ์ เป็นฤทธิ์ที่ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน 

พูดให้ง่ายๆ ก็คงต้องว่า ใครที่มีฤทธิ์นี้อยู่ ต้องอธิษฐานจิตเสียก่อน แล้วจึงจะเดินทางได้เร็วขึ้น ถึงจะใช้ความเร็วเท่าเดิม

เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนเราไปเดินบนทางเลื่อนแถวๆ มาบุญครอง  ถึงแม้เราจะเดินด้วยความเร็วธรรมดา เราก็เดินทางได้เร็วกว่าเดิม และเร็วกว่าคนที่เดินอยู่ข้างๆ ทางเลื่อน ทำนองนั้น

มิวออน: ผู้ย่นระยะทางได้
มิวออน (muou) เป็นชื่อเล่นหรือ nickname ของอนุภาคมิว-เมซอน (mu-meson) มิวออนนี่  นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบได้ที่ระดับน้ำทะเล

สิ่งที่จะพิสูจน์ได้ว่า มิวออนมันสามารถย่นระยะทางได้ก็คือ มิวออนนี่มันไม่ได้เกิดที่ระดับน้ำทะเล แต่มันเกิดที่ความสูงจากโลกอย่างต่ำต้อง 6 กิโลเมตรเป็นต้น 

พูดง่ายว่า มิวออนมันเกิดบนฟ้า แล้วลงมาเที่ยวที่ระดับน้ำทะเล

บางคนอ่านแล้ว ไม่เห็นจะแปลกประหลาดอะไรเลย

สิ่งที่แปลกประหลาดก็คือ คุณมิวออนนี่แกอายุสั้นครับ  มีอายุเฉลี่ยประมาณ 2 ไมโครวินาที (micro second)

ดังนั้น  ถ้าคุณมิวออนแกสามารถเดินทางด้วยความเร็วแสงคือ 186,000 ไมล์ต่อวินาที หรือ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที  คุณมิวออนแกก็จะเดินทางได้เพียงประมาณ 600 เมตรเท่านั้น

ดังนั้น เมื่อดูอายุของคุณมิวออน และระยะทางที่คุณมิวออนสามารถทำได้แล้ว  คุณมิวออนแกมาเที่ยวเตร่อยู่แถวระดับน้ำทะเลให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบได้อย่าง ไร

การคำนวณด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ
ทฤษฎีสัมพัทธภาพนี่  หลักพื้นฐานขัดกับหลักของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนอย่างฟ้ากับ ดินเลยทีเดียว 

วิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนเห็นว่า "ความจริง" นั้น เป็นสิ่งที่อยู่นอกตัวมนุษย์  ความจริงหนึ่งๆ นั้น ใครก็สามารถเข้าไปค้นหาได้  และผลที่ออกมาก็ต้องตรงกัน

อิทธิพลของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนทำให้เกิดคำว่า  [objective/วัตถุวิสัย/ปรนัย] กับ [subjective/จิตวิสัย/อัตนัย]

Newton ผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอน
 การศึกษาแบบวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนต้องเป็นแบบ [objective/วัตถุวิสัย/ปรนัย] 

การศึกษาแบบไหนที่เป็น [subjective/จิตวิสัย/อัตนัย]  มักจะได้รับการดูถูกว่า เป็นการศึกษาที่ไม่สามารถจะให้ความจริงแท้ได้ เพราะติดกับความลำเอียงของแต่ละบุคคล

แต่หลักพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือของฟิสิกส์ใหม่นี่ ยืนยันชัดๆ ว่า ความจริงต้องขึ้นกับตัวบุคคล ไม่อย่างนั้น จะรู้ได้อย่างไรว่า จรวดลำไหนเร็ว ลำไหนช้า

ปรากฏการณ์เดียวกัน  สามารถมีความจริงได้หลายแบบหลายอย่างได้  ขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตการณ์

ดูเหมือนกับว่า หลักพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือของฟิสิกส์ใหม่จะมั่ว  แต่ไม่มั่วครับ  เพราะ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสูตรของทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ในการศึกษาปัจจุบันก็พบเห็น เหตุการณ์ที่ยืนยันว่า หลักพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพหรือของฟิสิกส์ใหม่ดังกล่าวเป็นความจริงที่ ยอมรับได้โดยทั่วไป

มิวออนอายุยืนยาวขึ้น
ในการคำนวณครั้งแรกนี้ สมมุติว่า  ผมกับผู้อ่านกำลังอยู่บนโลก  สังเกตการณ์ชีวิตของคุณมิวออน  พอเกิดมาปุ๊บ แกก็ตั้งหน้าตั้งตาเดินทางมาโลก

คุณมิวออนนี่แกเดินทางได้เร็วมาก เกือบเท่าแสงเลยทีเดียว คือ ด้วยความเร็ว 0.998 เท่าของความเร็วแสง  สรุปว่าช้ากว่าแสงนิดเดียว

จากความรู้ของทฤษฎีสัมพัทธภาพ เรารู้ว่า  ใครก็ตามถ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้ๆ แสง เช่น คุณมิวออนนี่แหละ  เวลาของเขาจะช้าลง  คือ แก่ช้า

การแก่ช้าก็คือ มีชีวิตยืนยาวไปด้วย  คุณมิวออนนี่ด้วยความเร็วของเขา จะทำให้ชีวิตของเขายืนยาวไป เท่ากับ 15.8 X 2 ไมโครวินาที ก็คือ 31.6 ไมโครวินาที

เมื่อมีอายุยืนยาวขึ้นตั้งหลายเท่าตัว จาก 2 ไมโครวินาที เป็น 31.6 ไมโครวินาที เพราะ คุณมิวออนเดินทางได้เร็วใกล้ๆ กับแสง ดังนั้น  มิวออนก็สามารถเดินทางได้ประมาณ 9.5 กิโลเมตร

จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็พอสรุปสั้นๆ  ในช่วงนี้ได้ว่า  คุณมิวออน ถ้าแกเกิดมาปุ๊ป ขี้เกียจไปไหน  อยู่นิ่งๆ  มิวออนก็จะมีอายุได้ 2 ไมโครวินาที คือ เกิดมาปุ๊บก็ตายปั๊บเลย

แต่ถ้ามิวออนขยัน อยากมาเที่ยวโลก  ด้วยความเร็วของเขา  ทำให้อายุยืนยาวมากขึ้น และสามารถเดินทางได้ถึง 9.5 กิโลเมตร

ดังนั้น  การที่มิวออนเกิดบนฟ้าตั้งแต่ระยะ 6 กิโลเมตรขึ้นไป  มาปรากฏตัวอยู่ที่ระดับน้ำทะเลในโลกจึงเป็นไปได้ด้วยการคำนวณตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ

มิวออนย่นระยะทาง
ในการคำนวณครั้งที่สองนี้ สมมุติว่า  ผมกับผู้อ่านอยู่ในจรวดที่มีความเร็วเกือบเท่าแสงเหมือนกันกับคุณมิวออน 

แตกต่างกันที่ เราต้องไปด้วยจรวด แต่คุณมิวออนไปด้วยตัวของแกเอง และไปอยู่บนฟ้า ใกล้ๆ กับคุณมิวออนโน่น

ที่นี้การคำนวณของทฤษฎีสัมพัทธภาพต้องแตกต่างออกไป กล่าวคือ เราจะไปคิดว่า คุณมิวออนมีอายุยืนไม่ได้

คุณมิวออนจะต้องมีอายุแค่ 2 ไมโครวินาทีเท่านั้น  เพราะ เราอยู่คนละกรอบอ้างอิงของคนในโลก

ที่นี้จะใช้สูตรไหนคำนวณล่ะ

ก็ใช้สูตรเดียวกันกับสูตรที่ผ่านมา แต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิด กล่าวคือ เราสามารถคิดได้ว่า เรากับมิวออนอยู่นิ่งๆ  แต่โลกเคลื่อนที่เข้าไปหาเรา [อย่าเพิ่งงง ตามทฤษฎีสัมพัทธภาพคิดได้อย่างนี้จริงๆ]

ด้วยหลักการที่ว่า  การที่คุณมิวออนมีอายุแค่ 2 ไมโครวินาที  และสามารถเดินทางได้เพียง 600 เมตร  แต่มาปรากฏตัวบนโลกที่ระดับน้ำทะเลได้ ก็แสดงว่า คุณมิวออนย่นระยะทางได้นั่นเอง

[สูตรการคำนวณในส่วนนี้ ขอให้อ่านรายละเอียดในหนังสือแฟนพันธุ์แท้ไอน์สไตน์ ของบัญชา  ธนบุญสมบัติ หน้า 36-38]

สรุป
โดยสรุป จะเห็นได้ว่า  การย่นระยะทางสามารถทำได้จริงๆ และมีคุณมิวออนทำอยู่เป็นประจำ  ถ้าอยากจะรู้ก็ไปสังเกตไปพิสูจน์เอาเอง 

ดังนั้น การที่พระอรหันต์ หรือเกจิอาจารย์ หรือผู้ทรงวิทยาคุณต่างๆ สามารถฝึกจิตของท่าน จนสามารถทำให้ท่านย่นระยะทางได้ ก็ควรจะเป็นความจริงที่ยอมรับได้  

แต่วิธีการย่นระยะทางทำกันยังไง  ก็ไปศึกษากันเองครับ  ผมเองก็ยังทำไม่ได้เหมือนกัน  ถ้าทำได้แล้วละก้อ น้ำมันลิตรละ 100  บาท ผมก็ไม่เดือดร้อน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น