![]() |
ไอส์สไตน์ผู้บุกเบิกฟิสิกส์ใหม่ |
เรื่องการย่นระยะทางนี้ พุทธศาสนิกชนในเมืองไทยคงได้รับรู้กันมาบ้างไม่มากก็น้อย
ในกรณีที่ว่านี้ ถ้าเป็นพุทธทั่วไปกับพุทธปฏิบัติธรรมก็จะมีความเชื่อว่า การย่นระยะทางพระอรหันต์ พระเกจิอาจารย์ หรือผู้ทรงวิทยาคุณสามารถทำได้จริงๆ
กลุ่มที่เป็นพุทธวิชาการซึ่งเรียนมาก และหลงเชื่อวิทยาการสมัยใหม่มากตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้เลือกเชื่อพระไตรปิฎกในบางส่วนเท่านั้น จึงมักจะไม่เชื่อเรื่องการย่นระยะทาง
พุทธวิชาการเหล่านี้ ไม่เชื่อและไม่ยอมรับว่า การย่นระยะทางสามารถทำกันได้
แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ ความรู้ที่ว่าฟิสิกส์ใหม่ โค่นทฤษฎี (theory) หรือกฎ (law) ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนไปหมดแล้ว
เริ่มส่งผลในวงวิชาการของไทย คือ ในต่างประเทศเขารู้กันมานานแล้ว ว่า ทฤษฎี (theory) หรือกฎ (law) ของวิทยาศาสตร์เก่าแบบกลไก/แยกส่วน/ลดทอนเป็นความรู้แคบๆ ไม่ได้ยิ่งใหญ่อย่างที่เคยหลงเชื่อกัน
ความรู้ที่ว่านี้ เริ่มมาส่งผลในเมืองไทย คือ มาช้าหน่อย ก็ดีกว่าไม่มา
องค์ความรู้ของฟิสิกส์ใหม่ที่ยอมรับกันในปัจจุบัน มีลักษณะที่เหมือนกันกับองค์ความรู้ในศาสนาพุทธหลายอย่างหลายประการ
ที่สอดคล้องกับมากที่สุดก็คือ ความจริงของฟิสิกส์ใหม่กับความจริงของศาสนาพุทธขัดแย้งกับสามัญสำนึก (common sense) ของมนุษย์
เรื่องของการย่นระยะทางนี่ก็เช่นเดียวกัน นักฟิสิกส์รุ่นใหม่เชื่อว่าทำได้จริง และสามารถพิสูจน์ได้ให้เห็นแบบจะจะ โดยทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relative theory) ของไอน์สไตน์
ก่อนที่จะอธิบายถึงการย่นระยะทางแบบฟิสิกส์ใหม่ ต้องขออธิบายเรื่องความหมายของคำว่า “ย่นระยะทาง” เสียก่อน เพราะ คนจำนวนมากที่คิดว่า การย่นระยะทางเป็นไปไม่ได้เนื่องจากว่า เข้าใจความหมายของคำศัพท์แตกต่างกัน
คำว่า ย่นระยะทางนี่ไม่ได้หมายถึง การทำให้หนทางหดสั้นลง หรือย่อโลกให้หดสั้นลง แต่หมายถึงว่า ใช้เวลาในการเดินทางน้อยลงกว่าเดิมที่เคยทำกันมา
คือ ย่นเวลา ไม่ใช่ย่นทาง
ตัวอย่างที่ 1
ในสมัยที่ผมเป็นเด็กๆ การจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดชัยนาทบ้านเกิดของผมนี่ จะต้องใช้ถนนพหลโยธิน
ออกจากกรุงเทพฯ ก็ไปสระบุรี ลพบุรี โคกสำโรง ตากฟ้า ตาคลี ถึงจะไปชัยนาทได้ แต่เมื่อมีการตัดถนนสายเอเชียขึ้น ทำให้เป็นการย่นระยะทางได้มาก
จากกรุงเทพฯไปชัยนาทปัจจุบันใช้เวลาประมาณ 2 -3 ชั่วโมงก็ถึงแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อนต้องใช้เวลาเป็นวันๆ
นี่ก็หมายถึงว่า การย่นระยะทางไม่ได้เป็นการทำให้ถนนพหลโยธินมันหดสั้นลง แบบย่นย่อโลกแบบนั้น แต่มีการทำทางใหม่
การเดินทางด้วยถนนเส้นใหม่นั้น ใช้เวลาน้อยลงจากเดิม จึงเรียกว่าการย่นระยะทาง
ตัวอย่างที่ 2
เอาตัวอย่างทางน้ำบ้าง ผมนี่เรียนปริญญาโทกับปริญญาเอกอยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงคุ้นกับเรื่องนี้เป็นอย่างดี
แม่น้ำเจ้าพระยาจากปากคลองบางกอกน้อยตรงข้างสถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งตรงข้ามกับธรรมศาสตร์ ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ข้างๆ วัดอรุณฯ นี่เมื่อก่อนเป็นพื้นดินนะครับ ไม่ได้เป็นแม่น้ำเจ้าพระยาเหมือนปัจจุบัน
แม่น้ำเจ้าพระยาตัวจริงเสียงจริง เลี้ยวเข้าคลองบางกอกน้อยโค้งเป็นรูปเกือกม้าแล้วมาวกมาออกที่ปากคลอง บางกอกใหญ่ แถวๆ กรมอู่ทหารเรือ ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2077-2089) มีการขุดคลองลัดตรงนี้
พอมีการขุดคลองลัดให้น้ำไหลตรงๆ จากคลองที่เล็กๆ แคบๆ จึงถูกน้ำกัดเซาะใหญ่ขึ้นมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาตัวจริงเสียงจริงในปัจจุบัน
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็กลายเป็นคลองบางกอกน้อยกับคลองบางกอกใหญ่ไป
การขุดคลองลัดนี่ก็ทำให้ย่นระยะทางได้มากอีกเช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า การย่นระยะทางที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นการใช้เวลาเดินทางในเวลาที่น้อยลงกว่าเดิม ไม่ได้หมายถึงว่า จะทำให้ผิวโลกย่นสั้นลง ถ้าทำแบบนั้น บ้านช่องของคน ฯลฯ ตรงส่วนรอยย่นจะไปอยู่ที่ไหน คงจะถูกบีบอัดตายไปกันหมด
โดยสรุป..
การย่นระยะทางไม่ได้หมายถึงทำให้ระยะทางสั้นลง แต่หมายถึงการใช้ระยะเวลาในการเดินทางน้อยลงไป การย่นระยะทางนี้ นักปริยัติ/พุทธวิชาการไม่เชื่อว่า “สามารถทำได้จริง..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น